ดาวน์โหลดแอป

วิธีให้นมลูกช่วงอายุ 1 – 3 เดือน

การให้อาหารลูก

วิธีให้นมลูกช่วงอายุ 1 – 3 เดือน

ในช่วง 3 เดือนแรก ลูกควรได้รับสารอาหารจากน้ำนมคุณแม่หรือนมผง ในขณะที่ ลูกกำลังเติบโต นิสัยการทานนมของพวกเขาก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ลูกจะมีความอยากอาหารเป็นพิเศษและดูดนมนานกว่าเดิม เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องให้นมลูกบ่อยเท่าที่เคย พวกเขายังนอนหลับได้นานขึ้นในตอนกลางคืนอีกด้วย

ในขณะที่ลูกน้อยกำลังเจริญเติบโต ควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหาร ปรับปริมาณการให้นมตามความเหมาะสมและเพิ่มเวลาให้นมบ่อยขึ้นเมื่อลูกต้องการ

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยหิวหรืออิ่ม?

โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อทารกรู้สึกอิ่มพวกเขาจะหยุดกินนม เบี่ยงหน้าหนีไปจากเต้านมหรือขวดนม หรือดูดนมช้าลง ถึงแม้ว่าความอยากอาหารของเด็กทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีคำแนะนำคร่าว ๆ ในการให้น้ำนมแม่หรือนมผงแก่ลูกน้อยดังนี้:

การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่:

เมื่อลูกเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เขาจะดูดนมนานกว่าเดิมแต่น้อยครั้งลง เพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับประทานนมอย่างเต็มที่ ให้มองหาสัญญาณบ่งบอกดังต่อไปนี้:

หากลูกน้อยดูหงุดหงิด ร้องไห้เป็นประจำหรือดูไม่พอใจถึงแม้ว่าจะให้ทานนมแล้วก็ตาม นั่นอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเขายังอิ่ม หากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลควรสอบถามกุมารแพทย์

หลังจากการคลอดในไม่กี่สัปดาห์ทารกที่กินน้ำนมแม่อย่างเดียวมีแนวโน้มที่จะขับถ่ายน้อยลง เมื่ออายุสองเดือนลูกน้อยของคุณอาจไม่ขับถ่ายหลังดูดนมทุกมื้อหรือแม้กระทั่งทุกวัน

การเลี้ยงลูกด้วยนมผง:

เนื่องจากทารกสามารถย่อยนมผงได้ช้ากว่าน้ำนมแม่ พวกเขาอาจทานนมไม่บ่อยเท่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยน้ำนมแม่ ในช่วงเดือนที่สองทารกอาจต้องการนมมากถึง 120 – 150 ซีซี ในการให้นมแต่ละครั้ง  และภายในเดือนที่สามอาจต้องการเพิ่มอีก 30 ซีซี

เนื่องจากการดูดนมจากขวดนั้นง่ายกว่าดูดจากเต้า ลูกน้อยของคุณอาจดื่มนมมากเกินความต้องการได้ง่าย เพื่อป้องกันเรื่องนี้จุกนมที่ใช้กับขวดนมควรมีขนาดที่เหมาะสมตามช่วงวัย เวลาเทนมออกจากจุกนั้นน้ำนมควรหยดผ่านรูได้อย่างช้า ๆ  และคุณพ่อคุณแม่ควรหยุดป้อนนมเมื่อลูกน้อยส่งสัญญาณว่าอิ่มแล้ว

ลูกสำรอกนม ควรกังวลหรือไม่?

การที่ทารกน้อยสำรอกนมออกมาเล็กน้อยในระหว่างให้นมหรือระหว่างเรอและเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังการให้นมนั้นถือเป็นเรื่องปกติ หากนมที่ไหลออกมาจากปากนั้นค่อย ๆ ไหลออกมาช้า ๆ

เพื่อลดอาการสำรอกนม คุณแม่สามารถลองวิธีเหล่านี้ได้:

อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรติดต่อแพทย์หากคุณสังเกตเห็นว่าทารกน้อยของคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

ควรติดต่อแพทย์หากคุณแม่มีข้อสงสัยหรือความกังวลเกี่ยวกับการทานนมของลูกน้อยเพิ่มเติม

รับรองโดย:

นพ. ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ (8 กรกฎาคม 2021)

ที่มา:

ดาวน์โหลดแอปMali Daily Pregnancy Tracker

แม่มือใหม่ & การตั้งครรภ์

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน

เรตติ้ง 4.8 จากผู้ใช้งานกว่า 5,000+ คน